กระจังใบเทศ
กระจังใบเทศมีทรงภายนอกอ่อนเรียวเหมือนกระจังตาอ้อย อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าเช่นเดียวกัน แต่ภายในตัวมีสอดไส้แต่ หนึ่ง-สอง-สาม ขึ้นไป กระจังใบเทศมีวิธีแบ่งตัวได้ หรือสอดไส้ได้หลายวิธี เมื่อตัวยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งแบ่งตัวมากขึ้น และใส่ตัวซ้อนมากขึ้น การแบ่งจังหวะรอบตัวของกระจังใบเทศนี้ เรียกว่า "แข้งสิงห์" เมื่อตัวกระจังใบเทศใบยิ่งโตขึ้นเท่าใด แข้งสิงห์ก็จำต้องแบ่งตัวตามขึ้นไปด้วย การแบ่งแข้งสิงห์ให้เป็นลำดับติดต่อกันไม่ได้ ก็เท่ากับเขียนกระจังใบเทศไม่เป็น
กระจังหู
กระจังหูหรือกระจังปฏิญาณ มีทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างสองส่วน สูงสามส่วน(ดูแบบ)ตอนบนมีทรงเหมือนกระจังใบเทศ แล้วต่อก้านลงมาอีกครึ่งส่วนซ้ายและขวา มีตาอ่อนหรือกระจังใบเทศห้าม แต่ภายในตอนล่างมีกาบทั้งซ้ายและขวา เช่นเดียวกับกระจังใบเทศ วิธีแบ่งตัวมีเป็นลำดับคล้ายกระจังใบเทศ ตัวโตขึ้นก็มีการแบ่งตัวมากขึ้นไป
กระจังรวน
กระจังรวน มีส่วนเหมือนกระจังหูทุกส่วน ตลอดจนแบ่งตัวทุกอย่างเหมือนกันทั้งหมด แต่ใช้ยอดลงปลายยอด(ยอดเฉ)ยอดบัดไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ เป็นลายติดต่อซ้ายขวา
พุ่มทรงข้าวบิณฑ
ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ มีส่วนกว้างสองส่วน สูงสามส่วน วิธีเขียน สองส่วนตอนบนเขียนอย่างใบกระจังเทศแต่ให้สั้น เอายอดลงต่อกับตอนบน เท่ากับเขียนกระจังใบเทศสองตัวกัน รอบตัวของพุ่มทรงข้าวบิณฑ มีแบ่งแข้งสิงห์เหมือนกับกระจังเทศ แต่ตอนที่แข้งสิงห์ต่อกัน ระหว่างตอนบนกับตอนล่างน้นใส่ตัวห้าม พุ่มทรงข้าวบิณฑใช้เป็นี่ออกลายเป็นลายดอกลอย และยังใช้เข้าประกอบกับลายอื่นๆ ได้อีก
ประจำยาม
ลายประจำยาม ทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมทแยงมุม ประกอบด้วยวงกลมกับตัวกระจังใบเทศ ถ้าเป็นตัวย่อเล็กก้ใช้กระจังตาอ้อนแทน ลายประจำยาม ไม่เฉพาะแต่ใช้กระจังใบเทศ จะใช้กระจังหู พุ่มทรงข้าวบิณฑก็ได้ ลายประจำยามอยู่ในจำพวกดอกลอยและใช้เป้นแม่ลาย คือที่ออกลายหรือใช้เป็นที่ห้ามลาย
รักร้อย
ลายรักร้อยประกอบด้วย ลายประจำยามและกระจังใบเทศ หรือกระจังตาอ้อยลายรักร้อย ใช้ลายประจำยามเป็นที่ออกลาย เอากระจังใบเทศหรือกระจังตาอ้อยเรียงต่อกันไปทั้งซ้ายและขวาจนถึงที่ๆต้องการ ลายรักร้อยเป้นลายช่วยประกอบกับลายอื่นๆ โดยมากไม่มีใช้เฉพาะตัวของมันเอง ถ้าเป้นลายรักร้อยใหญ่ ใช้วิธีแบ่งตัวเหมือนกระขังใบเทศหรือจะเอาวิธีแบ่งตัวของกระจังหูมาใช้ก็ได้
หางไหล
หางไหลเป็นที่มาของกนกตัวต้น ทรงคล้ายกนกเปลว หรือเป็นแกนของตัวกนกอีกทีหนึ่ง โดยมากใช้เขียนเป็นลายเปลวไฟ ไม่มีใช้ผูกเป็นลายกนกเปลวเทียนหรือเป็นลายก้านขด
กนกสามตัว
กนกสามตัวจัดว่าเป็นแม่ลายที่สำคัญมาก เท่ากับเป็นแม่บทของกนกต่างๆทุกชนิดเพราะกนกทุกชนิดก็ได้แยกออกไปจากนกสามตัวและตอนยอดก็ใช้เหมือนกนกสามตัวให้อ่อนลื่นลงไป กาบบนคงใช้ตามทรงเดิมของกนกสามตัวการเขียนกนกตัวอื่นๆก็คล้ายคลึงกัน มีเพิ่มกาบมากบ้างน้อยบ้าง และบางตัวกนกก็ใช้ขมวดยอดลายและกาบ ก็เกิดเป็นรูปตัวกนกต่างๆแต่ทรงของตัวกนกคงเหมือนเดิมกับกนกสามตัวทั้งนั้นฉะนั้น การฝึกหัดเขียนจำต้องเขียนให้จำได้แม่นยำจริงๆ เมื่อจำกนกสามตัวได้แน่นนอนแล้ว การเขียนตัวกนกอื่นๆต่อไปก็จะจำได้ง่าย
วิธีฝึกหัดเขียนที่ดี ใช้ว่าเพียงแต่จำทรงตัวกนกได้แบ่งกาบถูกต้อง ทำยอดกนกได้ดีเท่านั้น จำจะต้องเขียนตัวกนกให้ยอดหันเหไปได้รอบตัว โดยไม่ต้องหมุนกระดาษที่เขียนไปคือเขียนตัวกนกให้ยอดลง ให้ยอดไปข้างซ้ายหรือข้างขวา หรือยอดให้เฉียงไปทางใดก็ได้นอกจากนี้ยังต้องเขียนกนกย่อ และขยายให้เล็กโตเท่าใดก็ได้ตามความต้องการ จึงจะจัดว่าเขียนตัวกนกได้ดี
และตัวกนกมีความสำคัญอยู่อีกประการหนึ่ง เช่น กนกสามตัวๆที่สามคือกาบบนกาบล่างที่ซ้อนกันอยู่ในตัวกนกนั้น เมื่อถึงการประดิษฐ์ลายก็แยกเอากาบเหล่านี้มาประกอบสลับติดต่อกัน มีกาบเล็กบ้างโตบ้าง ก็จะเกิดเป็นเถาลายขึ้น ความสำคัญของตัวกนกมีอยู่ดังนี้ การฝึกหัดเขียนที่ดีควรทวนความจำทุกวันไม่มากก็น้อย
กนกเปลว
กนกเปลวมีทรงเหมือนกนกสามตัว แต่กาบล่างของกรกเปลวต่างกัน ไม่มีแง่หยักเหมือนกนกสามตัว(ดูแบบตัวที่สาม)เขียนลื่นๆและการสอดไส้กาบ คือการแบ่งกาบก็ต่างกัน ส่วนกาบบนและยอดคงเหมือนกับกนกสามตัว ส่วนกาบล่างแบ่งต่างกันการฝึกหัดคงเหมือนกนกสามตัวทุกอย่าง
เทศหางโต
เทศหางโต หรือ หางโต มีลักาณะรูปร่างเหมือนกนกใบเทศตลอดจนส่วนประกอบก็เช่นเดียวกัน แต่ผิดกันก็ตอนบนของหางโต ใช้ทรงพุ่มทรงข้าวบิณฑต่อจากก้านหรือจะใช้ใบเทศต่อก้านก็ได้ เมื่อถึงตอนยอดก็ให้ยอดสบัดเหมือนกนกสามตัว(ดูแบบตัวที่สาม)เทศหางโต หรือ หางโต เมื่อเข้าลายหรือผูกลายจะใช้ปนกับกนกใบเทศก็ได้การฝึกหัดเขียนปฏิบัติเช่นเดียวกับกนกสามตัว
เครื่องประกอบลาย
เครื่องประกอบลาย แบบ๑
การเขียนลายหรือผูกลายที่งามนั้น ก็ต้องมีเครื่องตบแต่งประกอบเพื่อส่งเสริมให้ลายที่เขียนนั้นงดงามดูวิจิตรพิสดาร เครื่องตบแต่งนี้ก้คือเครื่องประลายนั้นเอง เครื่องประกอบลายต่างๆมีอยู่ในกนกสามตัวทั้งนั้น ได้ถอดเอาออกมาและแยกเป็นส่วนๆ ออกเป็นกาบช้อนออกเป็นตัวกนก, และออกเป็นยอดลายก้านขด
เครื่องประกอบลาย แบบ๒
ลายไทยมีอยู่หลายอย่างหลายชนิดด้วยกัน สำหรัยใช้ในงานแต่ละอย่าง และยังมีวิธีเขียนต่างกันด้วย เช่นเขียนลายถม, ลายลงยาสี, ลายตัวนูน เช่นปั้น, สลัก, แกะไม้ และปักดิ้นปักไหมลายฉลุ ฯลฯ เขียนลายชนิดไหนก้ใช้เครื่องประกอบลายชนิดนั้นให้มากเช่นเขียน ลายนกใบเทศประกอบเถาให้มาก นอกจากใช้กาบต่างๆประกอบเป็นเถาหนึ่งให้ออกไปเป็นอีกเถาหนึ่งนั้น ระหว่างที่จะแยกจากเถาต้องมี นกคาบ, กาบคู่หรือกาบไขว่เสมอไป(ดูกกผูกลายบทที่ ๒๖) ในแบบนี้แถวบนเป็นเครื่องประกอบลายใบเทศ และตอนล่างทั้งหมดเป็นที่แยกลาย ฉะนั้นการเขียนกาบและนกคาบเหล่านี้ต้องเขียนซ้ำๆกัน ให้จำได้อย่างแม่นยำ
DDDDDDDD
ตอบลบมีวิธีวาด 55+
ขอบคุณคร๊าฟฟฟ
ตอบลบ